วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

งานอดิเรก

งานอดิเรก
ในเวลาว่าง กิจกรรมที่ชอบทำที่สุดคือ การนอนหลับพักผ่อน


ประโยชน์ของการนอนหลับ



มนุษย์เราใช้เวลาในการนอนหลับของชีวิตในการนอนหลับ แต่ยังมีการศึกษาค้นพบข้อมูลน้อยมากในขณะนั้นผู้หลับจะไม่รู้สึกตนเองและจะไม่ตอบสนองต่อสิ่งร้าจากสิ่งแวดล้อมเท่าใดนักอย่างไรก็ตาม ประสาทบางส่วนในร่างกายก็กำลังทำงานอย่างเต็มที่ เช่นเสียงเล็กน้อยก้ก้อาจตื่นได้ ในทางชีววิทยา ปอดและหัวใจขระนอนหลันจะทำงานอย่างช้า ๆ ในนขณะที่ต่อมเหงื่อ และสมองบางส่วนจะมีการทำงานอย่างเต็มที่ การทำงานของสมองบางส่วนจะมีการทำงานอย่างเต็มที่ การทำงานของงสมองนี้เป็นข้อมูลของฐานของงความฝัน การละเมอทั้งพูดและเดิน ความกังกลเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกพฤติกรรมนี้

สิ่งสำคัญที่เกิดในขณะนอนหลับก็ คือ มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีการทดลองเซลล์ผิวสามารถแบ่งตัวสร้างเซลล์ใหม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในขณะที่นอนหลับ เวลานอนที่มนุษย์ต้องการนั้นขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโต เช่น ทารกย่อมต้องการนอนมากว่าเด็กอายุ 2-3 ขวบ และยื่งโตขึ้นก็ยิ่งนอนน้อยลงไปตามลำดับ แต่คนแก่เมื่อร่างกายถดถอยลง กลับต้องการการนอนหลับมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่กำลังพักฟื้น มนุษย์เราสามารถอดนอนได้ไม่เกิน 9 วัน การอดนอนจะทำให้รู้สึกหงุดหงิด ในผู้ใหญ่ปกติควรนอน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน จึงเพียงพอ


แหล่งที่: คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์.สารานุกรมวิทยาศาสาตร์.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์,2534.



กิจกรรมที่2 ที่ชอบทำในเวลาว่างๆ

คือ การฟังเพลง



คนที่ชอบฟังเพลง ทราบหรือไม่ว่า มีประโยชน์อย่างไรวันนี้ก็มีเอาเรื่องนี้มาฝาก...
ถ้ารู้สึกความดันโลหิตขึ้นสูง ไม่ต้องตกใจ พยายามผ่อนหายใจ และหันไปเปิดเพลงช้า ๆ ฟัง จะพบว่า มันจะค่อย ๆ ลดลงได้ ผลวิจัยของสมาคมแพทย์โรคความดันโลหิตสูงอเมริกัน รายงานว่า ผู้ที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง อย่างอ่อน จะสามารถให้มันกลับลดลงได้ อย่างน่าสังเกต เพียงฟังเพลงคลาสสิก วันละครึ่งชั่วโมง ติดต่อกันสัก 1 เดือน โรคความดันโลหิตสูง นับเป็นโรคที่เป็นกันอยู่อย่างแพร่หลาย เมื่อมันขึ้นไปอยู่ระดับสูง แล้วไม่กลับลงมาสู่ระดับปกติ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก ปีหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ดร.เปียโตร เอ.โมเดสติ ศาสตราจารย์วิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี หัวหน้าคณะนักวิจัยกล่าวว่า "เพลงจะช่วยขับกล่อม และมีส่วนในการควบคุมความเจ็บปวด ความวิตกกังวลของคนไข้ และทำให้ความดันโลหิตลดลงได้อย่างฉับพลัน" พร้อมกับกล่าวต่อว่า "นับว่าเพิ่งได้ยินผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นอิทธิพลของการฟังดนตรีประจำวัน กับโรคความดันโลหิตสูงอย่างชัดเจน จึงอดรู้สึกตื่นเต้นไม่ได้ ที่พบว่ามันเป็นผลดีทั้งกับคนไข้และหมอ ซึ่งต่อไปจะเชื่อมั่นได้ว่า การฟังเพลง เป็นเรื่องปลอดภัยและให้ผลดี อาจเป็นหนทางรักษาโดยไม่ต้องพึ่งยาอีกทางหนึ่ง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น